เมนู

คาถาที่ 4


35) ปฏิสลฺลานํ ณานมริญฺจนาโน
ธมฺเมส นิจฺจํ อนุธมฺมารี
อาทีนวํ สมฺมสิตา ภเวสุ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มี
ปกติประพฤติธรรม อันสมควรเป็นนิตย์ในธรรมทั้งหลาย
พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิสลฺลานํ คือ การไม่กลับเข้าไปหาสัตว์และสังขารเหล่า
นั้น ๆ หลีกเร้น อยู่. อธิบายว่า ความเป็นผู้เดียวเพราะเสพเฉพาะตนผู้เดียว
ชื่อว่า กายวิเวก. บทว่า ฌานํ ท่านเรียกว่า จิตตวิเวก เพราะเผา
ธรรมเป็นข้าศึกและเพราะเพ่งอารมณ์และลักษณะ. ในบทนั้น สมาบัติ 8
ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผาธรรมเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะ
เพ่งถึงอารมณ์ วิปัสสนา มรรคและผล ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผา
ธรรมเป็นข้าศึกมีสัตตสัญญาเป็นต้น และเพราะเพ่งถึงลักษณะ. แต่ในที่นี้
ประสงค์เอาการเพ่งอารมณ์เท่านั้น. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละการหลีก
เร้นและฌานนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อริญฺจมาโน คือ ไม่ละไม่สละ. บทว่า ธมฺเมสุ คือ ใน
ธรรมมีขันธ์ 5 เป็นต้นอันเป็นเครื่องให้เข้าถึงวิปัสสนา. บทว่า นิจฺจํ

คือ สงบ ไม่วุ่นวาย เนื่อง ๆ. บทว่า อนุธมฺมจารี ประพฤติธรรม
สมควร คือปรารภธรรมเหล่านั้นแล้วประพฤติวิปัสสนาธรรมไปตาม
สมควร. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ธมฺมา ได้แก่ โลกุตรธรรม 9. ชื่อว่า
อนุธมฺโม คือ เพราะเป็นธรรมสมควรแก่โลกุตรธรรมเหล่านั้น. บทนี้
เป็นชื่อของวิปัสสนา. ในบทนั้นเมื่อควรจะกล่าวว่า ประพฤติธรรม
สมควรแก่ธรรมทั้งหลายเป็นนิจ ก็กล่าวเสียว่า ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย
ด้วยการแปลงวิภัตติเพื่อสะดวกในการแต่งคาถา. คือควรจะเป็น ธมฺมานํ
แต่ในคาถาเป็น ธมฺเมสุ. บทว่า อาทีนวํ สมฺมสิตา ภเสุ พิจารณา
เห็นโทษในภพทั้งหลาย คือพิจารณาเห็นโทษมีอาการไม่เที่ยงเป็นต้นใน
ภพ 3 ด้วยวิปัสสนา อันได้แก่ความเป็นผู้พระพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
นั้น ควรกล่าวว่าท่านได้บรรลุแล้วด้วยปฏิปทา กล่าวคือ กายวิเวก จิตต-
วิเวกและวิปัสสนาอัน ถึงความเป็นยอต้นอย่างนี้. พึงทราบการประกอ
อย่างนี้ว่า เอโก จเร พึงเที่ยวไปผู้เดียว.
จบคาถาที่ 5

คาถาที่ 6


36) ตณฺหกฺขยํ ปตฺถยํ อปฺปมตฺโต
อเนลมูโค สุตฺวา สิติมา
สงฺขาตธมฺโม นิยโต ปธานวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.